หน้าหลัก > ข่าวและประกาศ > 9 ชนิดของหนังวัว ที่นิยมใช้ทำรองเท้าหนังแท้
9 ชนิดของหนังวัว ที่นิยมใช้ทำรองเท้าหนังแท้
9 ชนิดของหนังวัว ที่นิยมใช้ทำรองเท้าหนังแท้
23 Jul, 2018 / By admin
Images/Blog/aGhu9nHz-9 TYPE LEATHER-CAPTAINLEATHER.jpg

หนังแท้ที่ใช้ทำรองเท้ามีอยู่หลายประเภท และแต่ละประเภทนั้นยังสามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกหลายชนิด หนังที่ใช้ทำรองเท้ามีทั้งหนังวัว หนังควาย หนังจระเข้ หนังนกกระจอกเทศ หนังจิงโจ้ หนังแกะ หนังแพะ และอีกมากมาย ซึ่ง “หนังวัว” จะเป็นหนังที่นิยมนำมาทำรองเท้ามากที่สุด วันนี้กัปตันเลเธอร์จะมาแยกย่อยชนิดของหนังวัวให้หนุ่มๆ สาวๆ ที่ชื่นชอบงานหนังได้ศึกษาเพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกรองเท้าหนังแท้สักคู่

 

1.Full Grain Leather (หนังแท้ที่ไม่นำชิ้นส่วนด้านในออก)

ถือเป็นหนังที่มีคุณภาพที่สุด เป็นหนังที่มาจากสะโพกวัวอันขั้นตอนการผลิตตกแต่งน้อยที่สุด หนังจึงยังคงลวดลายที่เป็นธรรมชาติ มีความทนทานที่สุด (หนัง Nubuck ถือเป็นรอง) แถมยังกันน้ำได้ดีกว่าหนังชนิดอื่นที่เป็นหนังแท้ด้วยกัน อายุการใช้งานมากที่สุด ราคาจึงแพงที่สุด ผิวหน้าของหนังถูกเคลือบด้วยเคมีบางๆ และอัดลายนูนเพื่อความสวยงาม มีทั้งลักษณะขัดด้าน(Dull finished) และขัดเงา(Shining finished) หนังวัวประเภทนี้นำเข้าจากแถบอเมริกาใต้ รวมถึงอิตาลีและสเปน ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหนังวัวที่คุณภาพดีที่สุดสำหรับทำรองเท้าหนังแท้แฟชั่น ส่วนพวกรองเท้ากีฬา รองเท้าปีนเขา รองเท้าเดินป่าจะนำเข้าหนังวัวจากเกาหลี หรือใต้หวัน คุณภาพด้อยกว่าฝั่งอเมริกาใต้เล็กน้อยแต่เหมาะสมกับรองเท้าประเภทนี้มากกว่า 


2.Top Grain Leather (หนังด้านนอกเกรดสูง) 

หนังคุณภาพดีที่ยังเป็นรองกนัง Full grain Leather หนังชนิดนี้จะผ่านกระบวนการฟอกและขัด จนเกิดความเงางาม มีสีสันที่สวยงาม ผิวจึงมีความเรียบ เงา บางกว่า การดูแลรักษษทำความสะอาดง่ายและราคาถูกกว่าหนัง Full Grain Leather


3.Split Grain Leather (หนังที่มีการนำชิ้นส่วนด้านในออก)

ทำจากหนังวัวส่วนคอและท้อง ในกระบวนการผลิตมีการนำส่วนด้านในของหนังออก แล้วตัดเป็นแผ่นหนา บางขึ้นอยู่กับว่าจะนำชิ้นส่วนที่ตัดไปทำส่วนไหนของรองเท้า หนังชนิดนี้มีลักษณะเหมือนชั้นของกระดาษแข็ง มีน้ำหนักเบาและระบายอากาศได้ดีกว่าหนัง Full Grain Leather cและ Nubuck (Suede) แต่เรื่องความทนทานและคุณสมบัติด้านการกันน้ำยังด้อยกว่าแม้ผ่านกระบวนการกันน้ำแล้วก็ตาม สรุปได้ว่าหนังชนิดนี้ไม่เหมาะกับการทำรองเท้าประเภทที่เน้นความทนทาน คงทน แข็งแรง จะเหมาะกับรองเท้าผ้าใบ ใส่ในวันซ๊อฟๆ มากกว่า


4.Nubuck Leather (หนังนูบัค)

เป็นหนังที่ได้รับความนิยมอย่างมาก หนังชนิดนี้เป็นส่วนที่มาจากสะโพกของวัว เป็นหนังด้านนอกเกรดสูง(Top Grain Leather) ซึ่งปกติจะเป็นหนังที่หนาและแข็งกว่า Split Grain Leather มีวิธีการทำโดยการขัดผิวด้วยเครื่องขัดความเร็วสูง ให้เกิดเป็นลักศณะเส้นขนนิ่มๆ สั้นๆ ขึ้นทั่วผิวของแผ่นหนัง จะได้หนังที่นุ่มกว่าปกติแต่ยังคงความทนทานเหมือนหนังเกรดพรีเมี่ยม แถมยังย้อมสีได้หลากหลายเฉดสี แต่ปัจจัยหลักที่ทำให้หนังนูบัคเป็นที่นิยม คือการเสียดสีทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนหนังผ่านการใช้งาน ทำให้ผิวสัมผัสของหนังมีสีเข้มขึ้นและจะนุ่มขึ้นเองตามระยะเวลาการใช้งาน เรียกได้ว่ายิ่งใช้สียิ่งเฟดสวย สำหรับข้อเสียที่ทำให้บางคนไม่ชอบคือหนังชนิดนี้จะเป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย จึงต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่มากกว่าหนังชนิดอื่น


5.Roughout (หนังผิวด้านหยาบ)

เป็นหนังที่มีความด้านหยาบอันเกิดจากกล้ามเนื้อที่ติดกับหนัง แม้ว่าตัวหนังเองจะหยาบแต่ผิวสัมผัสกลับนิ่มและมีความหนาพอที่จะทำรองเท้าบู้ท ที่นิยมใช้กันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะไม่ได้เน้นความเงาของหนัง รวมทั้งเชื่อกันว่าหนังยังระบายอากาศได้ดีกว่าหนังชนิดอื่นที่ใช้ทำบู้ท หนังชนิดนี้มักจะถูกวางที่ส่วนด้านนอกของรองเท้


6.Suede (หนังกลับ)

หนังชนิดนี้จะคล้ายกับหนัง Roughout แต่จะมีกรรมวิธีการผลิตเพิ่มเติมคืิการ ตัดและเจียให้หนังบางลงและมีความหยาบเท่ากันทั้งผืน จึงสวยกว่า นิ่มกว่าและบางพอที่จะผลิตงานชิ้นเล็กๆ เช่นถึงมือ ที่เมื่อหนังสัมผัสกับร่างกายเราแล้วไม่เกิดการระคายเคือง รากศัพท์คำว่า Suede มาจากภาษษฝรั่งเศษที่แปลว่า “ถุงมือ” อันมีคำคุ้นหูที่ว่า “Gants Des Suede” แปลว่า ถุงมือของชาวสวีเดน


7.Vegetable Tanned (หนังฟอกฝาด)

Veg-Tanned ที่มาจากคำว่า Vegetable แต่ก็ไม่ได้แปลว่าได้หนังมาจากสัตว์กินพืชนะครับ ชื่อนี้เกิดจากกระบวนการ Tanned หนัง โดยใช้ไม้และพืชต่างๆ เป็นวัสดุในการฟอกนั่นเอง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ได้สีหนังที่เป้นธรรมชาติคล้ายสีผิวมนุษย์ แต่เมื่อผ่านการใช้งานสีจะน้ำตาลมากขึ้น เข้มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันนี้การฟอกฝาดธรรมชาติแท้ๆ ทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้มีการฟอกฝาดเคมีเพิ่มเข้ามา


8.Oil Pull Up (หนังที่ถูกเคลือบผิดด้วย Waxed)

หนัง Pull-Up นี้ถูกเคลือบด้วย Waxed และแต่งสีหนังด้วยน้ำมัน วิธีสังเกตุหนังชนิดนี้คือ "เมื่อคุณดึงหนังขึ้นบางส่วน หนังส่วนที่ดึงจะเลี่ยนเป็นสีอ่อน” จึงเรียกหนังชนิดนี้ว่า Pull-Up นั่นเอง หนังชนิดนี้ไม่ต้องการการดูแลมากเท่ากับ Veg-Tanned เพราะหนังได้ผ่านการเคลือบแว็กซ์มาแล้ว


9.Chamois (หนังชามัว)

หนังชามัวมีคุณสมบัติซับน้ำได้ดี นิ่มมากเป็นพิเศษ และจะมีตุ่มเล็กๆ ที่เป้นเอกลักษณ์ของหนังโดยเฉพาะ นิยมใช้ทำเป็นเสื้อผ้าหนัง แต่เมื่อนำหนังชามัวมาทำรองเท้าจะถูกเคลือบและอัดด้วยแวกซ์ในปริมาณสูงเพื่อป้องกันการดูดซึมน้ำและกันความชื้นที่อาจเกิดขึ้นเมื่อสวมใส่ สำหรับใครที่ชอบหนังนิ่มพิเศษ ไม่ต้องการหนังที่มันเงา รวมทั้งยังไม่ต้องดูแลรักษามาก กัปตันเลเธอร์ขอแนะนำหนังชามัวนี้เลยครับ


วันนี้ได้เข้าใจเรื่องชนิดของหนังวัวกันไปแล้ว คราวหน้ามาพบกับหนังชนิดอื่นๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมรองเท้ากันบ้างนะครับ ติดตามเรื่องเราดีๆ ไปกับเราได้ที่ www.captainleather.com

Like
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2025
Vevo Systems Co., Ltd.